Interior Design in Social Distancing Era

Interior Design in Social Distancing Era

Social Distancing กลายเป็น Buzz Word ที่ถูกพูดถึงบ่อยตั้งแต่เกิดโรคระบาดโควิด 19 ในวงการออกแบบคนเราล้วนมีบาเรียระยะพื้นที่ปลอดภัยหรือระยะมาตรฐานที่ไม่อยากให้คนเข้าใกล้มากกว่านี้สังเกตได้ว่าหากมีเก้าอี้ว่างเรียงติดกันอยู่เราจะเลือกนั่งเว้นระยะห่างกันโดยอัตโนมัติเมื่อโรคระบาดทำให้วงบาเรียของแต่ละคนขยายใหญ่ขึ้น ผู้คนต่างจำเป็นต้องรักษาระยะห่างกันมากขึ้นแต่ยังต้องการปฏิสัมพันธ์และทำกิจกรรมร่วมกันเหมือนเดิมเทรนด์การออกแบบพื้นที่จึงมีปัจจัยควรคำนึงมุมใหม่เพิ่มขึ้นมา


Socially Connected

คาดการณ์ว่าการออกแบบในคอนเซ็ปต์ “physically separated, but socially connected” หรือการคำนึงถึงขอบเขตพื้นที่ส่วนตัวที่มีระยะห่างแต่ไม่รู้สึกโดดเดี่ยวเกินไปจะได้รับความนิยมยิ่งขึ้นเรื่อยๆแม้ช่วงโควิดหมดไปแล้วหนึ่งในวิธีที่สามารถแบ่งขอบเขตพื้นที่ได้โดยไม่ต้องแยกห้องและให้ความรู้สึกเชื่อมถึงกัน คือ ผ้าม่านและฉากกั้น Kriskadecor เป็นบริษัทออกแบบผ้าม่านเครื่องประดับตกแต่งเพดานและผนังที่สามารถออกแบบผ้าม่านเป็นลวดลายสวยงามและแตกต่างตามความต้องการของลูกค้าทั้งเป็นลวดลายแพทเทิร์นหรือภาพได้ เหมาะแก่การประดับตกแต่งเพื่อแยกโซนพื้นที่ให้เป็นเอกลักษณ์ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่ซึ่งต้องใช้ร่วมกันอย่างออฟฟิส ร้านอาหาร บาร์ โรงแรม หรือแม้แต่พื้นที่บ้านขนาดกว้างที่อยากแบ่งสัดส่วน


Invisible Wall

ร้านตัดผม Hawthorne Studio ในนิวยอร์กอยู่ในระหว่างกระบวนการออกแบบโดยสตูดิโอ BoND ในช่วงที่เริ่มเกิดโควิดพอดีการออกแบบและตกแต่งภายในของที่นี่จึงคำนึงถึงการรักษาระยะห่างมาตั้งแต่ต้นความพิเศษ คือ ช่างทำผมสามารถคาดคะเนการเดินเข้าออกของลูกค้าในร้านได้โดยไม่ต้องมีกำแพงกั้นเลยแต่ใช้การคำนวณการสาดส่องของแสงการวางตำแหน่งเฟอร์นิเจอร์และต้นไม้รวมถึงการใช้วัสดุกรอบไม้กับผนังที่โล่งและเรียบแทนทั้งหมดนี้เป็นการจัดองค์ประกอบให้คนที่เดินเข้ามาอยากเว้นระยะห่างโดยอัตโนมัติผนังกรอบไม้ทำให้คนใช้พื้นที่ห่างกันมากขึ้น ส่วนจุดที่วางต้นไม้และเฟอร์นิเจอร์ก็ทำให้คนเดินหลบโดยอัตโนมัติ
แตกต่างจากพื้นที่กว้างโล่งที่คนมักเดินสะเปะสะปะชนกัน


Floor Guide

พื้นที่สาธารณะหลายแห่งทั่วโลกต่างใช้สัญลักษณ์ลวดลายและสีที่พื้นในการรักษาระยะห่างของผู้คน เช่น สวนสาธารณะที่ขีดเส้นเป็นวงกลมให้คนนั่งห่างกัน
สนามกีฬาที่มีลูกศรกำกับทางให้คนเดินMilliken คือ แบรนด์พรมที่เชื่อว่าการออกแบบลวดลายที่พื้นเป็นองค์ประกอบหนึ่งที่สำคัญสำหรับการออกแบบภายในเช่นกันโดยพรมคอลเล็คชั่น Social Factor มีหลายสัญลักษณ์ที่มักใช้บ่อยในยุคโควิดอย่างไรก็ตามแม้ไม่ใช่พรมที่มีสัญลักษณ์โดยตรงลวดลายที่พื้น เช่น ลายกราฟฟิค ย่อมมีส่วนช่วยสร้างมิติไกด์ทิศทางเดินและขอบเขตในห้องเพื่อตอบโจทย์การใช้ชีวิตในพื้นที่ได้เช่นกัน


Sense of Touch

โรคระบาดยังทำให้นักออกแบบคำนึงถึง Touch กันมากขึ้นไม่ใช่แค่การสัมผัสระหว่างคนเท่านั้นแต่ระหว่างคนกับผิววัสดุต่างๆด้วยการรักษาระยะห่างจะไม่มีความหมายเลยถ้าสุดท้ายเชื้อโรคสามารถเกาะติดที่ผิววัสดุนานหลายชั่วโมงจะสังเกตได้ว่าตั้งแต่เกิดโรคระบาดเราใส่ใจเรื่องความสะอาดและการจับผิววัสดุกันมากขึ้นรวมทั้งเริ่มคำนึงถึงรายละเอียดเล็กๆในบ้านที่ไม่เคยดูแลทำความสะอาดมาก่อนการออกแบบที่คำนึงถึง Social Distancing ที่ดีจึงควรคำนึงถึงวัสดุที่ใช้ด้วยควรใช้วัสดุ Anti-Bacterial Materials เช่น ทองแดง ทองเหลือง บรอนซ์ไม้ไผ่ ไม้โอ๊กโดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริเวณที่มักแตะเป็นประจำอย่างลูกบิดประตูกลอนตู้เสื้อผ้าก๊อกน้ำหากสามารถใช้ในองค์ประกอบอื่นๆของบ้านได้ด้วยยิ่งดี

#AreeyaHome

ขอบคุณข้อมูลจาก
Cr : bobbyberk / dezeen / dezeen2 / dezeen 3/ news.fiu.edu
Cr Images. Kriskadecor / Hawthorne-Studio / Milliken

awaw
asdasd
asdasd