สินเชื่อบ้าน ‘รีไฟแนนซ์’ กับ ‘รีเทนชั่น’ คืออะไร ? เลือกแบบไหนคุ้มกว่า ?

สินเชื่อบ้าน รีไฟแนนซ์ รีเทนชั่น ตัดสินใจเลือกแบบไหนดี?

ในยุคที่อัตราดอกเบี้ยเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ การบริหารจัดการสินเชื่อบ้านกลายเป็นเรื่องที่มีความสำคัญอย่างมากสำหรับผู้กู้สินเชื่อ เมื่อเงื่อนไขและอัตราดอกเบี้ยของสินเชื่อบ้าน สินเชื่อคอนโด มีการปรับตัว การพิจารณาทางเลือกที่ดีที่สุดระหว่างการรีไฟแนนซ์ (Refinance) และการรีเทนชั่น (Retention) จึงเป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม

อารียาฯ ชวนผู้กู้สินเชื่อบ้าน สินเชื่อคอนโดทุกคน มาทำความเข้าใจถึงข้อดีและข้อเสียของแต่ละทางเลือก เพื่อเป็นแนวทางสำหรับการตัดสินใจให้คุณเลือกทางเลือกที่เหมาะสมที่สุดสำหรับตัวเอง ช่วยทำให้สินเชื่อบ้านของคุณมีประสิทธิภาพและคุ้มค่าที่สุดในยุคปัจจุบัน

ทำความรู้จัก รีไฟแนนซ์ กับ รีเทนชั่น คืออะไร ? ต่างกันอย่างไร ?

รีไฟแนนซ์ (Refinance)

คือ กระบวนการที่ผู้กู้สินเชื่อทำการยกเลิกสินเชื่อเดิมที่มีอยู่ และทำการสมัครสินเชื่อใหม่กับธนาคารหรือสถาบันการเงินอื่น โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อให้ได้เงื่อนไขทางการเงินที่ดีกว่า เช่น อัตราดอกเบี้ยที่ต่ำลง การชำระหนี้รายเดือนที่ลดลง หรือการเปลี่ยนแปลงระยะเวลาการชำระหนี้

ขั้นตอนการรีไฟแนนซ์

  • ประเมินสถานะการเงิน: ตรวจสอบสถานะการเงินของตนเอง รวมถึงการคำนวณความคุ้มค่าของการรีไฟแนนซ์
  • เปรียบเทียบข้อเสนอจากธนาคารต่างๆ: ตรวจสอบและเปรียบเทียบอัตราดอกเบี้ยและเงื่อนไขจากธนาคารหรือสถาบันการเงินหลายแห่ง
  • ยื่นขอสินเชื่อใหม่: ทำการสมัครสินเชื่อใหม่กับธนาคารหรือสถาบันการเงินที่มีข้อเสนอที่ดีที่สุด
  • ปิดสินเชื่อเดิม: เมื่อสินเชื่อใหม่ได้รับการอนุมัติ ใช้เงินจากสินเชื่อใหม่ในการชำระหนี้สินเชื่อเดิมทั้งหมด
  • ชำระหนี้ตามเงื่อนไขใหม่: เริ่มการชำระหนี้ตามเงื่อนไขและอัตราดอกเบี้ยของสินเชื่อใหม่

รีเทนชั่น (Retention)

คือ กระบวนการที่ผู้กู้สินเชื่อทำการเจรจากับธนาคารหรือสถาบันการเงินที่เป็นเจ้าของสินเชื่อเดิม เพื่อปรับเปลี่ยนเงื่อนไขสินเชื่อโดยไม่ต้องทำการยกเลิกสินเชื่อเดิมและสมัครสินเชื่อใหม่ การรีเทนชั่นมักเกิดขึ้นเมื่อธนาคารต้องการรักษาลูกค้าเดิมและป้องกันไม่ให้ลูกค้าไปทำการรีไฟแนนซ์กับธนาคารอื่น

ขั้นตอนการรีเทนชั่น

  • ตรวจสอบเงื่อนไขสินเชื่อเดิม: ตรวจสอบเงื่อนไขและอัตราดอกเบี้ยของสินเชื่อเดิมเพื่อประเมินความคุ้มค่าของการรีเทนชั่น
  • เปรียบเทียบข้อเสนอ: ตรวจสอบอัตราดอกเบี้ยและเงื่อนไขจากธนาคารหรือสถาบันการเงินอื่นเพื่อใช้เป็นข้อมูลในการเจรจา
  • เจรจากับธนาคารเดิม: ติดต่อธนาคารเดิมและเจรจาขอปรับเปลี่ยนเงื่อนไขสินเชื่อตามที่ต้องการ
  • ทำข้อตกลงใหม่: หากการเจรจาประสบความสำเร็จ ทำการลงนามในข้อตกลงใหม่ที่ปรับเปลี่ยนเงื่อนไขสินเชื่อ
  • ปฏิบัติตามเงื่อนไขใหม่: เริ่มการชำระหนี้ตามเงื่อนไขและอัตราดอกเบี้ยใหม่ที่ได้เจรจาไว้

เทียบข้อดี ข้อเสีย ของรีไฟแนนซ์ กับรีเทนชั่น

เปรียบเทียบความต่าง ข้อดี-ข้อเสีย ของรีไฟแนนซ์ กับ รีเทนชั่น

  ข้อดี ข้อเสีย
รีไฟแนนซ์ ·       สามารถเลือกเปรียบเทียบอัตราดอกเบี้ยได้หลากหลายธนาคาร

·       ได้อัตราดอกเบี้ยในเรทต่ำ

·       ต้องจัดเตรียมเอกสารการยื่นกู้ใหม่ทั้งหมด

·       มีค่าธรรมเนียมในการรีไฟแนนซ์ที่ต้องจ่าย เช่น การจัดการสินเชื่อตามสัญญาใหม่ 0-3%

รีเทนชั่น ·       ไม่ต้องเสียเวลายื่นเอกสาร เตรียมเอกสารแค่คู่สัญญาเงินกู้ ทะเบียนบ้าน และบัตรประชาชน

·       มีเพียงแค่ค่าธรรมเนียมการรีเทนชั่น

1-2% ของวงเงินกู้เท่านั้น

·       ระยะเวลาในการอนุมัติรวดเร็ว

·       อัตราดอกเบี้ยอาจลดลงเพียงเล็กน้อย โดยอัตราดอกเบี้ยจะเป็นไปตามที่ธนาคารกำหนด

 

จะเห็นได้ว่า รีเทนชั่น มีความสะดวกในการขอลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้มากกว่า ส่วนการรีไฟแนนซ์ จะมีโอกาสในการเลือกอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ได้หลากหลายกว่า โดยผู้กู้สินเชื่อควรเลือกอัตราดอกเบี้ยต่ำที่สุดในเงื่อนไขที่ดีที่สุด และอาจขอคำปรึกษากับสถาบันการเงินที่กู้อยู่เดิมก่อนเพื่อขอเปรียบเทียบดอกเบี้ยของ รีเทนชั่น ก่อนที่จะดำเนินการ รีไฟแนนซ์ ก็ได้

หากถามว่าควรเลือกตัดสินใจว่าจะ รีไฟแนนซ์ หรือ รีเทนชั่น ดี คำตอบนั้นขึ้นอยู่กับการวางแผนและสถานการณ์ทางการเงินของผู้กู้สินเชื่อแต่ละคน จะเห็นได้ว่า รีเทนชั่น มีความสะดวกในการขอลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้มากกว่า ส่วนการรีไฟแนนซ์ จะมีโอกาสในการเลือกอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ได้หลากหลายกว่า โดยผู้กู้สินเชื่อควรเลือกอัตราดอกเบี้ยต่ำที่สุดในเงื่อนไขที่ดีที่สุด และอาจขอคำปรึกษากับสถาบันการเงินที่กู้อยู่เดิมก่อนเพื่อขอเปรียบเทียบดอกเบี้ยของรีเทนชั่น ก่อนที่จะดำเนินการรีไฟแนนซ์ ก็ได้

อัตราดอกเบี้ยรีไฟแนนซ์ สินเชื่อบ้าน สินเชื่อคอนโด อัปเดตล่าสุด 2567

ธนาคาร อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี* วงเงินกู้สูงสุด ระยะเวลากู้ (ปี)
ธนาคารกรุงศรีอยุธยา 3.50% 90% 30 ปี
ธนาคารอาคารสงเคราะห์ 3.70% 100% 40 ปี
ธนาคารกรุงไทย 3.33% 100% 40 ปี
ธนาคารกรุงเทพ 3.33% 100% 40 ปี
ธนาคารไทยพาณิชย์ 3.42% 100% 30 ปี
ธนาคารกสิกรไทย 3.67% 100%

30 ปี

 

 

ข้อมูลอ้างอิงจาก : ธนาคารแห่งประเทศไทย (วันที่ 4 กรกฎาคม 2567)

*อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี เงื่อนไขเป็นไปตามที่ธนาคารกำหนด

สามารถเปรียบเทียบและคำนวณอัตราดอกเบี้ยบ้านและคอนโด จากธนาคารชั้นนำต่าง ๆ ได้ด้วยตนเอง ที่ https://areeya.co.th/loan-calculator/

ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก :

https://advicecenter.kkpfg.com/th/money-matter/refinance-retention

https://www.moneybuffalo.in.th/real-estate/homeloan-refinance

https://www.pptvhd36.com/wealth/economic/209473